Friday, January 26, 2007

Ph.D Economics Admission Part I

ผมว่าเด็กนักเรียนระดับปริญญาตรีไม่มากก็น้อยเมื่อใกล้จะจบคงจะเริ่มคิดเเล้วละครับว่าจะทำอะไรกันต่อไปดี จะก้าวไปสู่ตลาดเเรงงานเลยหรือจะหาสถานศึกษาต่อดี ถ้าศึกษาต่อจะต่อในระดับไหนดี โท หรือ เอก จะเรียนในประเทศหรือต่างประเทศดี เอาเป็นว่าผมอยากเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์การสมัครเรียนต่อให้ฟังเล่นๆก็เเล้วกัน เหมาะสำหรับคนที่เรียนกลางๆเอนไปทางอ่อนๆนะครับ พวกหัวกะทิขอเเนะนำว่าให้ข้ามบล็อคนี้ไป เพราะจะไม่เกิดศักยภาพในการผลิตของคุณ

ท้าวความถึงประวัติการศึกษาส่วนตัวกันสักหน่อย ผมเรียนจบระดับปริญญาตรีทางด้านเศรษฐศาสตร์ ด้วยเกรดที่ไม่ถึงสามเเต่ก็ไม่สวยหรูมากนักในการสมัครเรียนต่อต่างประเทศ เพราะตอนอยู่มหาลัยนับครั้งได้ในการเข้าห้องเรียน ส่วนใหญ่ผมมักจะใช้ข้ออ้างว่ามันเป็นมหาลัยชีวิต ดังนั้นผมควรจะใช้ชีวิตในมิติอื่นนอกจากด้านวิชาการ ซึ่งผมก็สนุกกับมันเป็นอันมาก เเต่พอตอนจะสมัครเรียนต่อต่างประเทศสิครับมันจะเป็นตราบาปเล็กๆน้อยของใบรายงานผลการศึกษา เพราะไอ้ที่ผมได้เรียนรู้ทางด้านมหาลัยชีวิตมันไม่ได้เเสดงผลออกมากับใบทรานสคริปเเม้เเต่น้อย

ซึ่งมันก็เป็นอดีตทีี่ผมไม่สามารถกลับไปเเก้ไขอะไรได้เเล้ว ดังนั้นจึงมีอยู่ไม่กี่ทางที่จะช่วยให้ใบสมัครของผมดูดีขึ้น อย่างเเรกเลยครับผลคะเเนนทดสอบระดับความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษต้องออกมาดีครับ หนทางในการเพิ่มคะเเนนก็มีไม่กี่ทางหรอกครับ จริงๆผมว่ามีทางเดียวครับคุณต้องขยันเเละอดทน คุณไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องเสียตังค์เป็นหมี่นเพื่อไปลงเรียนกับสถาบันสอนพิเศษ ถึงเเม้ผมจะเห็นว่ามันช่วยได้บ้าง เเต่สุดท้ายมันขึ้นอยู่กับตัวคุณเองเเล้วละครับ ว่าจะเอาจริงเอาจังเเค่ไหน เพราะผมก็ไม่เคยไปลงเรียนสักทีเพราะไม่มีเงิน วิธีที่ผมจะเเนะนำคือหนึ่งหาหนังสือประกอบการศึกษาสักเล่มหนึ่ง มีมากมาย ตั้งเเต่ Barron, Princeton, Kaplan, and etc. โดยส่วนตัวผมอ่านมันหมดเท่าที่มีเเละหาได้ตามห้องสมุด แต่เล่มที่ผมชอบที่สุดน่าจะเป็นของ Barron เพราะย่อได้ขนาดพอดีที่จะอ่านภายในเดือนนึง แล้วรวบรวมเคล็ดลับทำข้อสอบเร็วไว้พอสมควร ซึ่งมันจะช่วยในการจัดสรรเวลาในการทำข้อสอบ แล้วฝึกทำเเบบจับเวลาไว้นะครับ จะได้บรรยากาศเหมือนตอนสอบหน่อย อย่าเเอบขี้โกงก็เเล้วกัน

องค์ประกอบส่วนต่างๆของข้อสอบอย่างเช่น TOEFL นั้นจะเเบ่งหลักๆเป็นสัดส่วนของ ฟัง พูด อ่าน เชียน (ส่วนของการสอบพูดผมไม่เเน่ใจว่าเค้าบังคับให้สอบด้วยรึเปล่า ณ ปัจจุบัน เเต่ตอนที่ผมสอบมันเเล้วเเต่มหาลัยที่เราจะสมัครว่าเค้าบังคับหรือเปล่า อย่าง UC, Irvine นี่บอกไว้เลยครับว่าถ้าอยากสมัครทุนการศึกษาด้วยให้สอบพูด) เเต่ละส่วนของการสอบนั้นผมจะทำเหมือนๆกันคือจัดสรรเวลาไว้ให้เป็นที่เเน่นอนเลยว่าจะใช้เวลาประมาณเท่าไหร่ อย่างเช่นส่วนของการเขียน เค้าให้เวลามาประมาณสามสิบนาที ผมก็จะเเบ่งเวลาเป็นหกส่วน ส่วนละห้านาที ห้านาทีเเรกมีเอาไว้คิดโครงร่างว่าจะเขียนอย่างไร คิดเเล้วจดลงในกระดาษทดที่เค้าให้มานะครับ เพราะจะช่วยให้เราไม่ลืมเวลาเริ่มเขียนจริง อีกห้าส่วนที่เหลือ เเบ่งเป็น คำนำ เนื้อความสามอย่อหน้า และบทสรุป ส่วนละห้านาทีเท่าๆกัน ฝึกกันเอาไว้ให้เคยชินนะครับผมว่ามันดูเป็นการจัดสรรที่ดูตายตัวเเข็งๆ แต่ผมว่ามันช่วยได้มาก อย่างของส่วนอื่นผมก็จะเเบ่งเวลาเหมือนๆกัน โดยดูสถิติจากอดีตว่าข้อสอบในเเต่ละครั้งนั้นมีจำนวนข้อมากที่สุดเท่าไหร่เเล้วเอาจำนวนนี้ไปหารกับเวลาที่เค้าให้มา เราก็จะได้ค่าเฉลี่ยโดยประมาณในการทำข้อสอบหนึ่งข้อ ซึ่งผมจะใช้เวลามากหน่อยในการทำข้อสอบห้าข้อเเรก เพราะมันจะมีผลต่ออัตราเร่งขึ้นหรือเร่งลงของคะเเนนเเบบ CBT ผมจะพยายามทำเเต่ละข้อไม่ให้เกินเวลาที่กำหนดถ้าผมทำไม่ได้ ผมจะไม่รักพี่เสียได้้น้องครับ ยอมตัดเเขนรักษาชีวิตไว้ดีกว่า มั่วๆไปเถอะครับอย่าไปเสียเวลากับข้อที่เราพยายามเเล้วพยายามอีกก็ไม่รู้จะตอบอะไร

ข้อสอบวัดระดับความรู้อีกอย่างที่ต้องสอบและเป็นที่บังคับของโรงเรียนส่วนใหญ่ คือข้อสอบมาตรฐานกลางอย่าง GRE หรือ GMAT ซึ่งส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยในอเมริกามันจะรับผลสอบ GRE ซะมากกว่า บางโรงเรียนจะรับผลสอบ GMAT เหมือนกันเเต่จะเป็นโปรเเกรม ศศ​ที่อยู่กับคณะบริหารธุรกิจ อย่างเช่นที่ Purdue หรือ Lehigh เป็นต้น เคล็ดลับส่วนใหญ่คงเหมือนๆกันละครับในด้านของการจัดสรรเวลา ซึ่งเราถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด แล้วควรฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ให้ชิน จะได้รู้ืเเนวของข้อสอบจริงมากขึ้น อย่างของ Barron นั้น เค้าจะเเสดงผลสถิติเลยว่าเรื่องไหนออกเยอะเราก็ควรจะเน้นเรื่องนั้นให้มาก ซึ่งคะเเนนของเลขนั้นควรจะได้เกือบๆเต็มไว้เป็นดีครับ เพราะส่วนของข้อสอบภาษาอังกฤษนั้นยากครับ ในส่วนของข้อสอบ GRE นั้นจะไม่เหมือนกะ GMAT ที่เน้นการอ่านวิเคราะห์ เเต่จะเน้นความสามารถทางคำศัพท์ภาษาอังกฤษมากกว่า แล้วไอ้ศัพท์เหล่านั้นเนี่ย ไม่ค่อยได้ใช้หรอกครับกับภาษาอังกฤษระดับการสื่อสาร จะใช้บ่อยมากในงานเขียนทางวิชาการ ก่อนสอบผมก็ศัพท์อะไรวะมันจะใช้กันเหรอ เเต่เมื่อได้เรียนเเล้วอ่านหนังสือเยอะขี้น ผมคิดว่าผมให้สัดส่วนสูงถึง 70 เปอร์เซนต์เลยนะครับ ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว ถ้าจะให้เเนะนำผมว่าก็ควรท่องที่ละสิบคำต่อวันเเต่ทำให้เป็นกิจวัตร เพราะจากผลการวิจัยระบุชัดเจนครับว่าความสามรถในการเพิ่มฐานคำศัพท์นั้นใช้เวลากันเป็นปีๆครับ ไม่เหมือนความสมารถทางคณิตศาสตร์ที่จะสามารถเพิ่มผลผลิตได้ในระยะเวลาอันสั้น คำเเนะนำสุดท้ายของผมมั่วมันไปเถอะครับได้มาสักสามร้อยถึงสี่รอ้ิยจากเเปดร้อยก็น่าจะถือว่าถูก Lottery รางวัลที่หนึ่งได้เเล้ว

ร่ายมาซะยาวยังมีต่ออีก เเล้วผมต้องไปอ่านเปเปอร์เเล้วด้วย เอาเป็นว่ายกยอดไว้เล่าในบล็อคหน้าก็เเล้วกัน

6 Comments:

At 8:56 PM, Blogger OM said...

มีประโยชน์มากๆ เลยครับ ผมจะรออ่านตอนต่อไป

 
At 8:20 AM, Anonymous Anonymous said...

มีประโยชน์มากเลยค่ะพี่ เพราะตอนนี้กำลังเตรียมสอบภาษาอังกฤษอยู่ โดยส่วนตัวเคยลองอ่านเองแป๊บนึงแล้วแต่ไม่สำเร็จ อยู่บ้านแล้วเล่นเน็ตทั้งวัน กรรม

ก็เลยไปเรียนซะแล้วก็รู้สึกดีเพราะภาษาอังกฤษมันต้องสะสมอ่ะ จะพรวดพราดเก่งเลยไม่ได้ พอได้ใช้ทุกวันติดกันเดือนนึงนี่มั่นใจขึ้นมาก ติดขัดน้อยลง แต่ก็ยังติดขัดอยู่ งงไหม๊

แต่ถ้าเรียนมาแล้วไม่มาทวนต่อที่บ้านก็ลืมหมดน่ะ การไปเรียนมันดีตรงที่ได้เจอเพื่อนที่เตรียมสอบเหมือนเรา ก็จะมีแรงกระตุ้น จากภายนอก แล้วก็อ.จะชี้ทางสว่างให้ทำให้รวดเร็วในการทำความเข้าใจ อ่อนตรงนั้นตรงนี้อ.เห็นยังงงอยู่ก็ไปหาวิธี สรุปเนื้อหามาช่วยทำให้เราหายงง ถ้าได้เรียนกับอ.ดีก็จะมีผลต่อการพัฒนาภาษามากๆ เลยน่ะ

เจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์ขึ้นอยู่กับตัวเรา


รออ่าน ภาคต่อนะคะ

 
At 1:43 AM, Blogger Iconoclast said...

พยายามเข้าครับน้องทั้งสอง ยินดีต้อนรับเข้าสู่ชีวิตนักเรียนอีกรอบ

 
At 2:34 PM, Blogger Unknown said...

เรื่องหน้า เมื่อไหร่จะมาละครับลูกพี่

 
At 8:00 AM, Blogger Gelgloog said...

อืม....พี่เองนี่ก้อทิ้ง blog ไปนานไม่แพ้ผมเลยนะ 5555

 
At 8:48 AM, Anonymous Anonymous said...

ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูลดีๆ

 

Post a Comment

<< Home