ระบบกติกาตามครรลองระบอบประชาธิปไตย
การชุมนุมของขบวนการกู้ชาติซึ่งนำโดยคุณ สนธิ ลิ้มทองกุลเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธุ์ 2549 ดำเนินไปด้วยความสงบเรียบร้อย หาได้มีการชุมนุมด้วยความรุนเเรงใดๆ ซึ่งอาจเป็นบ่อเหตุของการทำลายทรัพย์สินของชาติ แต่ในทางกลับกันท่านนายกทักษิณยังมองว่านี่เป็นการเล่นเกมส์การเมืองนอกระบบ ทำให้ผมมานั่งนึกอยู่นานพอสมควรว่าการที่ประชาชนซึ่งไม่ได้เป็นนักเลือกตั้ง ที่จะมีสิทธิ์ติดป้าย สส เข้าไปประชุมในรัฐสภาอันทรงเกียรติ แล้วเเสดงความคิดเห็นในระบบการเมืองในกรอบทัศนะของคำว่า "การเมืองในระบบที่ถูกต้อง"ของท่านนายก หรือการที่พวกเขาเหล่านั้นไม่มีโอกาสในการเเสดงความคิดเห็นที่เเตกต่างตามสื่อต่างๆ มันจะมีช่องทางไหนบ้างที่พวกเขาเหล่านั้นจะเเสดงความคิดเห็นที่เเตกต่างออกมา
ถ้าพิจารณาสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกคนตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้ ที่เรามีสิทธิที่จะพูดและชุมนุมอย่างสงบ ผมว่าการที่ประชาชนจำนวนหนึ่งซึ่งอาจจะมีความคิดเห็นที่เเตกต่างกันออกไปจากเเนวคิดของรัฐบาลแล้วมารวมตัวกันที่พระบรมรูปทรงม้า แล้วทำการยื่นฏีกาผ่านประธานองคมนตรีนั้น เป็นการกระทำที่ถูกต้องและชอบธรรมที่สุด
ทำไมเรื่องที่ง่ายๆขนาดนี้ท่านยังไม่เข้าใจ หรือเป็นความเข้าใจผิดและความโง่เขลาของผมที่ตีความหมายของรัฐธรรมนูญผิดไป
2 Comments:
นั่นหนะดิ
แค่นี้คิดไม่ออกเลยหรอเนี่ย??
อืม ว่ากันจริง ๆ ตามหลักการแห่งกฎหมายและระบอบประชาธิปไตยนะ
การห้ามชุมนุมโดยสงบและเปิดเผยในทางการเมืองระบอบประชาธิปไตย คงทำไม่ได้ แต่การกำหนดเงื่อนไขบางประการ ในการชุมนุมนั้น สามารถกระทำการได้ เพราะ เสรีภาพในการชุมนุม (ซึ่งเป็นประโยชน์ของฝ่ายเอกชน หรือประชาชนทั่วไป) มักจะแข่งขันกับ ประโยชน์ของรัฐ ซึ่งถือเป็นประโยชน์มหาชน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในทางกลับกัน หากยกย่องเชิดชูปะชาธิปไตยและระบบรัฐสภาจริง ๆ แล้ว ช่องทาง ในการดำเนินการของรัฐสภาย่อมกระทำได้ดีกว่า และถูกต้องตามครรลองฯ
การที่ฝ่ายค้านอ้างว่า ไม่สามารถอภิปราย ไม่ไว้วางใจนายกฯ ได้ เพราะมีเสียงน้อย จริง ๆ ก็ฟังดูดี แต่แท้จริงแล้ว ทางรัฐธรรมนูญ มีระบบการตรวจสอบทางอื่น เช่น การอภิปรายทั่วไป โดยไม่มีการลงมติ ไม่ไว้วางใจ ซึ่งกรณีนี้ ฝ่ายค้าน และฝ่ายวุฒิสมาชิก ก็กระทำได้อยู่แล้ว หากมีข้อมูลแน่นหนา เมื่อถ่ายทอดสดฯ ย่อมทำให้ประชาชนได้รับทราบอย่างกว้างขวาง แถมมีรายงานการประชุมรัฐสภา ฯลฯ อย่างเป็นหลักเป็นการ เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์อีกต่างหาก
แต่น่าแปลกใจมากที่ ฝ่ายค้าน ไม่ดำเนินการในช่องทางดังกล่าว ไม่ทราบว่าด้วยเหตุผลกลใด แถมมีข่าวว่าจะร่วมกระบวนการประท้วง นอกรัฐสภา อีก .... อันนี้ ตกใจมาก เพราะอะไรไม่ทราบเหมือนกัน
ในบริเวณที่ประชุม หากจะกล่าวแบบไม่เข้าข้างใคร ก็ใกล้พระราชฐานจริง ๆ หากมีการกระทำที่ไม่บังควร เช่น ด่าไอ้เหี้ย ไอ้สัตว์ ฯลฯ ก็ถึงพระเนตรพระกรรจ์ ของพระบรมวงศานุวงศ์ พระองค์ท่าน มันสมควรหรือไม่ ก็ไม่ทราบ โดยเฉพาะ อาจจะมีเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดฝันอื่น ๆ ได้อีก ซึ่งก็จะกลายเป็นเรื่องใหญ่อีก
ขอย้ำนะครับ ไม่เข้าข้างใคร เพี่ยงแต่ ผมเชื่อมั่นในระบบรัฐสภา และเชื่อว่ากระบวนการทางรัฐสภา ยังไม่ได้ถึงทางตัน มีทางออกมากมาย ที่ควรจะต้องกระทำโดยระบบของมัน แต่ไม่ยอมทำให้ถึงที่สุด
Post a Comment
<< Home