Summer Class
ใครว่าช่วงซัมเมอร์จะได้หยุดเที่ยวเล่นอย่างที่ชาวบ้านคาดคิด หารู้ไม่ว่าคนเขียนดันเเรดไปลงเรียนซัมเมอร์กะเค้าเอาไว้ด้วย ถึงเเม้ว่าจะเข้าไปนั่งซิทอินเฉยๆก็เหอะ อาจารย์เเกให้ทำพรีเซนต์หน้าชั้นเรียนเหมือน นร ที่ลงทะเบียนเรียนตามปกติ ตัดเกรดให้ดูต่างหน้าอีกด้วย ฮ่วย
คือวิชาที่ว่านี้มีชื่อว่า Political Economy and Development คือเรียนเรื่องราวของเเบบจำลองต่างๆของสถาบันทางการเมืองที่เหล่านักเศรษฐศาสตร์เเผนใหม่ (Institutional Economist) มึความเชื่อเเบบลึกๆว่าการกำหนดกฏกติกา หรือการสร้างสถาบันทางสังคมให้เข็มเเข็งเเล้ว ผลผลิตของนโยบายสาธารณะนั้นจะสามารถให้ผลตอบเเทนดังที่คนกำหนดนโยบายคาดหวังไว้ โดยถ้าหากมีการเปลี่ยนกฏ กติกา ในการมีส่วนร่วมทางการเมิองเเล้วไซร้ ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะได้ไม่เหมือนกันทุกครั้้งไป
ในชั้นเรียนอาจารย์ที่สอนไม่ได้มาจากมหาลัยที่ผมเรียนอยู่ซักทีเดียว เเต่เป็นอาจารย์มาจากคอลเลจข้างๆที่มีชื่อเสียงทางด้านสายสังคมศาสตร์พอสมควร ใกล้ขนาดว่าเดินไม่ถึงห้านาทีก็ไปมาหาสู่กันได้ อาจารย์เเกชื่อ Brock Blomberg ย้ายมาจาก Wellesley College, MA ซึ่งก็เป็นคอลเลจที่ดังและดีมาก สไตล์การสอนในคลาสเเกก็เป็นไปเเบบง่ายๆไม่เน้นบรรยายเลยก็ว่าได้ เเกเลือกที่จะให้หัวข้อของเเต่ละคลาสมาเเล้วระบุผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนั้นๆให้ นศ ไปอ่านเตรียมตัวมาพรีเซนต์หน้าชั้นเรียนว่า มีความเป็นมาอย่างไร ในเเต่ละคลาสจำนวนของเปเปอร์ก็มากบ้างน้อยบ้างเเตกต่างกันออกไปตามหัวข้อ เเต่โดยเฉลี่ยเเล้วไม่ต่ำกว่าห้าเปเปอร์ บางครั้งมีนับสิบใครเลือกที่จะพรีเซนต์หัวข้อนั้นๆก็ต้องเลือกอันที่ตัวเองคิดว่าเข้าใจมากที่สุด เพราะเนื้อความสำคัญของผลงานวิชาการนั้นไม่ยากนักในการทำความเข้าใจ ส่วนที่ยากนั้นจะเป็นส่วนของเลขมากกว่าที่ทำให้งง
นศ เเต่ละคนก็มีเวลาในการพรีเซนต์เท่ากันคือสามชั่วโมง มีเบรคให้สิบนาที คุณจะพรีเซนต์อะไรก็พูดไปเลยจัดสรรเวลาเอาเอง ตัวผมนั้นเลือกที่จะพรีเซนต์โดยใช้ Power Point เป็นตัวช่วยทางเลือกสุดท้ายเพราะมีความรู้สึกว่ามันเหมือนเป็นการจดโน๊ตย่อๆกันลืมให้ตัวเองด้วย เลยเสียเวลาไปเกือบอาทิตย์ในการอ่านเปเปอร์เเล้วก็ทำ Power Point
หัวข้อที่ผมสนใจเเละเลือกที่่จะพรีเซนต์นั้นเกี่ยวกับ Dynamic Voting and Redistribution โดยผมเลือกผลงานเขียนของ Alesina and Rodrick เรื่อง Distributive Politics and Economic Growth (1994) เป็นเเบบจำลองหลักในการอธิบายถึงการกระจายรายได้กับการจำเริญเติบ
โตทางเศรษฐกิจ ซึงผู้เขียนเห็นว่าทั้งสองอย่างนี้มีความสัมพันธ์ที่ขัดเเย้งกัน โดยเฉพาะให้สังคมที่มีคนจนเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศย่อมต้องการความช่วยเหลือจากรัฐอย่างมาก โดยผ่านการจัดสรรนโยบายภาษีจากการเก็บภาษีคนรวยเเล้วจึีงเเจกจ่ายเงินภาษีที่ได้มาให้กับคนจน เเน่นอนการเก็บภาษีย่อมไม่เป็นที่ต้องการของคนรวยมากนักหากตนเองต้องทำงานอย่างหนักเเล้วต้องเสียภาษีให้กับรัฐ เพื่อนำเงินไปอุดหนุนคนยากจน อีกทั่งยังก่อให้มีการบิดเบือนทางเศรษฐกิจ เนื่องด้วยการจัดเก็บภาษีกับคนรวยนั้นย่อมก๋อให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงพฤติกรรมในการสะสมปัจจัยทุนทางเศรษฐกิจในระยาวด้วย ซึ่งถ้าระดับอัตราภาษีอยู่ในระดับที่สูงมากเกินไปก็อาจจะทำให้ภาวะทางเศรษฐกิจหยุดชะงักได้
ผมคงไม่เขียนลงรายละเอียดของเปเปอร์นี้ผ่านบล็อคเพราะมันจะเป็นอะไรที่ลงในรายละเอียดมากเกินไป เอาเป็นว่าถ้าใครสนใจอ่านเปเปอร์นี้ฉบับ Power Point ก็ไปดาวน์โหลดกันได้ที่ เว็บ geocities ของผมได้ตามอัธยาศัย คลิ๊กที่ EC 329 เเล้วกัน เเต่ที่ผมอยากเขียนถึงอีกเเง่มุมนึงของการเอาเปเปอร์นี้ไปอธิบายก็คือถ้าในสังคมที่เราอยู่ยังมีความไม่เท่าเทียมกันระหว่าคนจนกับคนรวยอยู่เยอะ การที่รัฐจะหวังใช้นโยบายผลักดันด้าน ศก อย่างเดียวนั้นมีอันตรายต่อความขัดเเย้งระหว่างคนในประเทศอย่างสูง เพราะคนจนก็จะมีการต่อต้านต่อกลุ่มชนชั้นนายทุน มองตัวอย่างง่ายๆไม่ใกล้ไม่ไกลอย่างตอนนายกไทยคนปัจจุบันขายหุ้นเเล้วไม่เสียภาษีแล้วเป็นไง ผลักดันการเปลี่ยนเเปลงเเก้กฏหมายหลายต่อหลายครั้งที่มีส่วนช่วยให้เครือข่ายธุรกิจที่มีสามสมพันธ์อันเเน้นเเฟ้นกะท่านนายก ให้ได้กำไรสูงขึ้นสร้างช่องว่างระหว่างคนรวยกะคนจนให้มากขึ้นไปอีก กระเเสต่อต้านจากทุกสารทิศเป็นอย่างไร รัฐบาลไทยน่าจะเอากลับเอาไปทบทวยเป็นบทเรียนถึงความกระหายอยากรวยของผู้นำให้ผลลัพธ์เป็นอย่างไร รัฐควรหันกลับมาใส่ใจกับคนจนให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ อย่างน้อยเเสวทางการพัฒนา ศก ของในหลวงก็เป็นหนทางหนึ่งที่ผมเห็นว่าเป็นการเเก้ปัญหาความโง่ จน เจ็บในระยายได้ เเม้อาจจะไม่เห็นผลในระยะสั้นแต่เเนวทางการปฏิบัตินั้นเน้นถึงการพัฒนาความเป็นอยู่ของคนจนให้ดีขึ้น ซึ่งผลที่ตามมาคือช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยจะเเคบเข้าหากัน ณ เวลานั้นผมมีความเห็นว่าการพัฒนา ศก จึงเป็นไปได้อย่างราบรื่น
สรุปเเล้ววิชาที่ผมเรียนตัวนี้ผมให้ไปห้าดาวเลย เป็นวิชาที่เนื้อหาสนุกเเละผมก็สนใจมากๆด้วย เวลาที่เหลือในคอร์สเวิคร์ของผมคงได้เรียนวิชาเเนวๆนี้อีเยอะ หลายๆคนคงเดาได้ว่าอีกหน่อยผมคงสนใจเขียนงานในเเนวไหน