ปฎิวัติ
เช้าวันใหม่ของวันที่ 19 กันยายน 2549 ผมยังเริ่มวันใหม่ด้วยกิจวัตรประจำวันปกติ ขึ้นมาทำกับข้าวไปกินที่ทำงาน ล้างหน้าล้างตา ยังมีเวลาเผื่อนั่งสุนทรีฟังเพลงสักยี่สิบนาทีได้ คิดถึงเพื่อนเก่ามากระทันหันคุยฆ่าเวลารอทำงานในห้องคอม จนเเปดโมงผมถึงได้วางสายเพื่อนเเล้วก็เริ่มเปิดคอมนั่งทำงาน ตรวจเช็คตารางงานวันี้ได้สักพัก ถึงเริ่มมาเช็คดูเหล่านักเเช็ทว่ามีใครออนไลน์อยู่บ้าง ไอ้ชื่อเเปลกๆของเหล่าเพื่อนๆนี่ทำไมมันเเปลกไปจากปกติก็ไม่ทราบได้ เช่น ปฏิวัติคือทรยศชาติ ตื่นเถิดชาวไทย เกิดอะไรขึ้นในกรุงเทพ
สักพักก็มีรุ่นน้องอดีตเด็กนิเทศที่หันมาเอาดีทางด้านกฏหมาย รายงานข่าวมาเป็นระยะๆว่าเกิดเหตุการณ์เเปลกๆ เช่น มีการเปิดเพลงปลุกใจทาง ททบ 5 ร่วมสองชั่วโมง และในเวลาต่อมาก็มีการประกาศภาวะฉุกเฉินโดย พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร เเต่ที่หน้าเเปลกใจก็คือไม่ได้เป็นการประกาศสด แต่เป้นการอัดเทปเอาไว้ล่วงหน้า ส่วนเจ้าตัวนั้นเดินทางมา UN ทีสหรัฐอเมริกา
ผมคงไม่ทราบรายละเอียดลึกตื้นหนาบางของการปฏิวัติครั้งนี้ เพราะเหตุการณ์ช่วงที่ผ่านมาถึงเเม้จะดูขัดเเย้งกันบ้าง เเต่ไม่น่าเป็นชี้ขาดให้มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน ดังนั้นถ้าผมจะขอเป็นหมอดูสักวันคงไม่เเปลกอะไร เพราะไม่รู้จะไปเอาข่าวสารที่ไหนมาย่อย เล่นปิดกันหมดซะขนาดนี้
คงไม่เป็นการเกินจริงนักกับการจะมองสังคมไทย ณ ตอนนี้ว่าเเบ่งเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจน ระหว่าง ทักษิณเเละคณะ กับ คนที่ทักษิณเห็นเป็นคนตรงข้ามกับตนเอง (อาจจะมองได้ว่าเป็นประชาชนตาดำๆอย่างเราๆ) ทั้งสองฝ่ายต่างมีจุดประสงค์ร่วมเหมือนกันคือ ความพยายามเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกตรองประเทศ เพียงต่างกันที่ว่าในระบบการปกครองเเบบประชาธิปไตยอย่างที่เรามีอยุ่นี่ถ้าฝ่ายทักษิณยังรั้งอำนาจเอาไว้อยู่ได้ ทักษิณมีโอกาสที่จะใช้อำนาจไปในทางที่มิชอบได้ โดยที่ระบบการครวจสอบที่จะมาคัดคานกันได้นั้นก็อ่อนเเอเสียเหลือเกิน ส่วนภาคประชาชนนั้นเล่าก็อยากได้รัฐบาลที่มีใจรักในครรลองของระบบประชางธิปไตย ที่มีเจตนารมณ์ครงตามรัฐธรรมนูญซึ่งต้องการได้กลุ่มคณะที่เห็นประโยชน์สุขของคนส่วนรวมในชาติเป็นหลัก
โครงสร้างของ กติกา ยุทธวิธีในการชิงไหวชิงพริบนั้นไม่มีอะไรมาก การให้ได้มาซึ่งอำนาจที่ตนปราถนานั้น ต้องทำการปฏิวัติ แล้วฝ่ายรัฐบาลที่ครองอำนาจสามารถปอ้งกันการปฎิวัติจากฝ่ายตรงข้ามโดยการอัดฉีดนโยบายที่กระจายความมั่งคั่งอย่างเท่าเทียมกันในสังคม หนึ่งเพื่อรักษาไว้ซึ่งอำนาจที่ตนดำรงอยู่ ซึ่งจะช่วยได้หรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของเเต่ละคน
การปฏิวัตินั้่นเเน่นอนว่าจะต้องมีการสูญเสียทรัพยากรส่วนหนึ่งเป็นพื้นฐาน เเต่ถ้ามีการคำนวณเเล้วว่าถ้าความสูญเสียก้อนนี้ยังน้อยกว่าผลประโยชน์ที่จะได้มาจากการปฏิวัติแล้ว เราก็มั่นใจในการที่จะฟันธงได้ว่าการปฏิวัติเกิดขึ้นเเน่ๆ ส่วนการจะนำผลประโยชน์ของการปฏิวัติไปเเบ่งสรรอย่างไรนั่นคงต้องดูกันนอกจากระบบกรอบโมเดลนี้
เเน่นอนว่าการกระทำที่ผ่านของทักษิณได้บ่งชี้เป็นที่เเน่ชัดว่า ได้พยายามใช้นโยบายประชานิยมในทุกอณูภาคของสังคมไทย เเต่เหมือนกมลสันดานการกินรวบคนเดียว เช่น การใช้อำนาจภาครัฐโยกย้ายเเต่งตั้งบุคคลมี่มีความใกล้ชิดกับครอบครัวชินวัตรไปคุมหน่วยงานราชการ เหล่าทัพทหาร การขาดความโปร่งใสในการบริหารภาครัฐ การขายหุ้นบริษัทชินวัตรโดยไม่ได้เสียภาษีสักบาทให้กับกรมสรรภากร ได้ก่อนให้เกิดระดับความไม่พอใจกระจายไปทั่ว
ซึ่งจากลักษณะการบริหารงานระบบเถ้าเก่ของทักษิณนั้นขัดกันเองในจุดยุทธวิธีในการโปรยยาหอมประชานิยม ไม่ได้ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดังนั้นเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าการกินรวบในระยะยาวไม่สามารถเกิดขึ้นได้จริงในระบบประชาธิบไตย ผลจากความล้มเหลวของนโยบายประชานิยมในการรักษาอำนาจของกลุ่มทักษิณ ก่อให้เกิดการเข้ายึดอำนาจจากเหล่าทหารในที่สุด
นี่คงไม่ใช่การทำการยึดอำนาจครั้งเเรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทยและคงไม่ใช่ครั้งสุดท้ายหากเรายังมีนักการเมิองอย่างทักษิณอยู่ เมื่อไหร่ที่นักการเมืองมีจิตใจที่มีคุณธรรมพอที่จะเอาประโยชน์สุขของคนในชาติเป็นที่ตั้ง คนในชาติดตระหนักถึงหน้าที่ทางการเมือง ผมว่าเราคงได้เห็นการปฏิวติครั้งนี่เป็นครั้งสุดท้าย
หมายเหตุ กรอบเเนวความคิดนี้ผมได้รับอิทธิพลมาจากหนังสือ Economic Origins of Dictatorship and Democracy: Economic and Political Origins ของ Daron Acemoglu กับ James A. Robinson หนังสือที่ผมนั่งเรียนในคลาส Political Economy ตอน Summer 2006