Friday, January 26, 2007

Ph.D Economics Admission Part I

ผมว่าเด็กนักเรียนระดับปริญญาตรีไม่มากก็น้อยเมื่อใกล้จะจบคงจะเริ่มคิดเเล้วละครับว่าจะทำอะไรกันต่อไปดี จะก้าวไปสู่ตลาดเเรงงานเลยหรือจะหาสถานศึกษาต่อดี ถ้าศึกษาต่อจะต่อในระดับไหนดี โท หรือ เอก จะเรียนในประเทศหรือต่างประเทศดี เอาเป็นว่าผมอยากเล่าเกี่ยวกับประสบการณ์การสมัครเรียนต่อให้ฟังเล่นๆก็เเล้วกัน เหมาะสำหรับคนที่เรียนกลางๆเอนไปทางอ่อนๆนะครับ พวกหัวกะทิขอเเนะนำว่าให้ข้ามบล็อคนี้ไป เพราะจะไม่เกิดศักยภาพในการผลิตของคุณ

ท้าวความถึงประวัติการศึกษาส่วนตัวกันสักหน่อย ผมเรียนจบระดับปริญญาตรีทางด้านเศรษฐศาสตร์ ด้วยเกรดที่ไม่ถึงสามเเต่ก็ไม่สวยหรูมากนักในการสมัครเรียนต่อต่างประเทศ เพราะตอนอยู่มหาลัยนับครั้งได้ในการเข้าห้องเรียน ส่วนใหญ่ผมมักจะใช้ข้ออ้างว่ามันเป็นมหาลัยชีวิต ดังนั้นผมควรจะใช้ชีวิตในมิติอื่นนอกจากด้านวิชาการ ซึ่งผมก็สนุกกับมันเป็นอันมาก เเต่พอตอนจะสมัครเรียนต่อต่างประเทศสิครับมันจะเป็นตราบาปเล็กๆน้อยของใบรายงานผลการศึกษา เพราะไอ้ที่ผมได้เรียนรู้ทางด้านมหาลัยชีวิตมันไม่ได้เเสดงผลออกมากับใบทรานสคริปเเม้เเต่น้อย

ซึ่งมันก็เป็นอดีตทีี่ผมไม่สามารถกลับไปเเก้ไขอะไรได้เเล้ว ดังนั้นจึงมีอยู่ไม่กี่ทางที่จะช่วยให้ใบสมัครของผมดูดีขึ้น อย่างเเรกเลยครับผลคะเเนนทดสอบระดับความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษต้องออกมาดีครับ หนทางในการเพิ่มคะเเนนก็มีไม่กี่ทางหรอกครับ จริงๆผมว่ามีทางเดียวครับคุณต้องขยันเเละอดทน คุณไม่จำเป็นเสมอไปที่จะต้องเสียตังค์เป็นหมี่นเพื่อไปลงเรียนกับสถาบันสอนพิเศษ ถึงเเม้ผมจะเห็นว่ามันช่วยได้บ้าง เเต่สุดท้ายมันขึ้นอยู่กับตัวคุณเองเเล้วละครับ ว่าจะเอาจริงเอาจังเเค่ไหน เพราะผมก็ไม่เคยไปลงเรียนสักทีเพราะไม่มีเงิน วิธีที่ผมจะเเนะนำคือหนึ่งหาหนังสือประกอบการศึกษาสักเล่มหนึ่ง มีมากมาย ตั้งเเต่ Barron, Princeton, Kaplan, and etc. โดยส่วนตัวผมอ่านมันหมดเท่าที่มีเเละหาได้ตามห้องสมุด แต่เล่มที่ผมชอบที่สุดน่าจะเป็นของ Barron เพราะย่อได้ขนาดพอดีที่จะอ่านภายในเดือนนึง แล้วรวบรวมเคล็ดลับทำข้อสอบเร็วไว้พอสมควร ซึ่งมันจะช่วยในการจัดสรรเวลาในการทำข้อสอบ แล้วฝึกทำเเบบจับเวลาไว้นะครับ จะได้บรรยากาศเหมือนตอนสอบหน่อย อย่าเเอบขี้โกงก็เเล้วกัน

องค์ประกอบส่วนต่างๆของข้อสอบอย่างเช่น TOEFL นั้นจะเเบ่งหลักๆเป็นสัดส่วนของ ฟัง พูด อ่าน เชียน (ส่วนของการสอบพูดผมไม่เเน่ใจว่าเค้าบังคับให้สอบด้วยรึเปล่า ณ ปัจจุบัน เเต่ตอนที่ผมสอบมันเเล้วเเต่มหาลัยที่เราจะสมัครว่าเค้าบังคับหรือเปล่า อย่าง UC, Irvine นี่บอกไว้เลยครับว่าถ้าอยากสมัครทุนการศึกษาด้วยให้สอบพูด) เเต่ละส่วนของการสอบนั้นผมจะทำเหมือนๆกันคือจัดสรรเวลาไว้ให้เป็นที่เเน่นอนเลยว่าจะใช้เวลาประมาณเท่าไหร่ อย่างเช่นส่วนของการเขียน เค้าให้เวลามาประมาณสามสิบนาที ผมก็จะเเบ่งเวลาเป็นหกส่วน ส่วนละห้านาที ห้านาทีเเรกมีเอาไว้คิดโครงร่างว่าจะเขียนอย่างไร คิดเเล้วจดลงในกระดาษทดที่เค้าให้มานะครับ เพราะจะช่วยให้เราไม่ลืมเวลาเริ่มเขียนจริง อีกห้าส่วนที่เหลือ เเบ่งเป็น คำนำ เนื้อความสามอย่อหน้า และบทสรุป ส่วนละห้านาทีเท่าๆกัน ฝึกกันเอาไว้ให้เคยชินนะครับผมว่ามันดูเป็นการจัดสรรที่ดูตายตัวเเข็งๆ แต่ผมว่ามันช่วยได้มาก อย่างของส่วนอื่นผมก็จะเเบ่งเวลาเหมือนๆกัน โดยดูสถิติจากอดีตว่าข้อสอบในเเต่ละครั้งนั้นมีจำนวนข้อมากที่สุดเท่าไหร่เเล้วเอาจำนวนนี้ไปหารกับเวลาที่เค้าให้มา เราก็จะได้ค่าเฉลี่ยโดยประมาณในการทำข้อสอบหนึ่งข้อ ซึ่งผมจะใช้เวลามากหน่อยในการทำข้อสอบห้าข้อเเรก เพราะมันจะมีผลต่ออัตราเร่งขึ้นหรือเร่งลงของคะเเนนเเบบ CBT ผมจะพยายามทำเเต่ละข้อไม่ให้เกินเวลาที่กำหนดถ้าผมทำไม่ได้ ผมจะไม่รักพี่เสียได้้น้องครับ ยอมตัดเเขนรักษาชีวิตไว้ดีกว่า มั่วๆไปเถอะครับอย่าไปเสียเวลากับข้อที่เราพยายามเเล้วพยายามอีกก็ไม่รู้จะตอบอะไร

ข้อสอบวัดระดับความรู้อีกอย่างที่ต้องสอบและเป็นที่บังคับของโรงเรียนส่วนใหญ่ คือข้อสอบมาตรฐานกลางอย่าง GRE หรือ GMAT ซึ่งส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยในอเมริกามันจะรับผลสอบ GRE ซะมากกว่า บางโรงเรียนจะรับผลสอบ GMAT เหมือนกันเเต่จะเป็นโปรเเกรม ศศ​ที่อยู่กับคณะบริหารธุรกิจ อย่างเช่นที่ Purdue หรือ Lehigh เป็นต้น เคล็ดลับส่วนใหญ่คงเหมือนๆกันละครับในด้านของการจัดสรรเวลา ซึ่งเราถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด แล้วควรฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ให้ชิน จะได้รู้ืเเนวของข้อสอบจริงมากขึ้น อย่างของ Barron นั้น เค้าจะเเสดงผลสถิติเลยว่าเรื่องไหนออกเยอะเราก็ควรจะเน้นเรื่องนั้นให้มาก ซึ่งคะเเนนของเลขนั้นควรจะได้เกือบๆเต็มไว้เป็นดีครับ เพราะส่วนของข้อสอบภาษาอังกฤษนั้นยากครับ ในส่วนของข้อสอบ GRE นั้นจะไม่เหมือนกะ GMAT ที่เน้นการอ่านวิเคราะห์ เเต่จะเน้นความสามารถทางคำศัพท์ภาษาอังกฤษมากกว่า แล้วไอ้ศัพท์เหล่านั้นเนี่ย ไม่ค่อยได้ใช้หรอกครับกับภาษาอังกฤษระดับการสื่อสาร จะใช้บ่อยมากในงานเขียนทางวิชาการ ก่อนสอบผมก็ศัพท์อะไรวะมันจะใช้กันเหรอ เเต่เมื่อได้เรียนเเล้วอ่านหนังสือเยอะขี้น ผมคิดว่าผมให้สัดส่วนสูงถึง 70 เปอร์เซนต์เลยนะครับ ซึ่งถือว่าเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว ถ้าจะให้เเนะนำผมว่าก็ควรท่องที่ละสิบคำต่อวันเเต่ทำให้เป็นกิจวัตร เพราะจากผลการวิจัยระบุชัดเจนครับว่าความสามรถในการเพิ่มฐานคำศัพท์นั้นใช้เวลากันเป็นปีๆครับ ไม่เหมือนความสมารถทางคณิตศาสตร์ที่จะสามารถเพิ่มผลผลิตได้ในระยะเวลาอันสั้น คำเเนะนำสุดท้ายของผมมั่วมันไปเถอะครับได้มาสักสามร้อยถึงสี่รอ้ิยจากเเปดร้อยก็น่าจะถือว่าถูก Lottery รางวัลที่หนึ่งได้เเล้ว

ร่ายมาซะยาวยังมีต่ออีก เเล้วผมต้องไปอ่านเปเปอร์เเล้วด้วย เอาเป็นว่ายกยอดไว้เล่าในบล็อคหน้าก็เเล้วกัน

Sunday, January 21, 2007

Why Does Government Exist?

In neo-classical economics, the market always has perfect information in which individuals have a full knowledge of how to exchange their transaction. However, in the real world information is not costless. There are costs of negotiating, enforcing the regulations and laws, and administration in economic exchange. A public choice economist, Coase, acknowledges the profound effect of transaction cost in order to improve the orthodox economic analysis derived from Adam Smith. My paper will try to illustrate some aspect of the application of transaction cost to an existing formal institution, government.

I. An Economic Perspective From Adam Smith

In his classic work “The Wealth of Nations” , Adam Smith gives us an economic foundation of how we can enjoy the mechanism of the division of labor in a pin factory. Instead of one man doing the whole process of making pins, the well-organized manufacturer can distribute each part of the pin-making process to distinct pin-makers, responsible for a couple of tasks only , which in turn will increase productivities. A practice of specialization is his main classic idea of “the invisible hand” where the prevailing price will determine the allocation of work in the market.
However, Coase (1937) argues that economists have failed to apply economic theory to the real world if they omit the economics of good judgment of transactions cost into their analysis. I would apply transaction cost to explain why government does exist in the society by linking it to the Coasean theory of the firm . My first question is “Why do we need government?”

II. Governments As a Formal Institution

Theoretically, in democratic, socialist, authoritarian societies or other types of government, everybody can produce every product for self-consumption, but practically not everybody will be able to do this since there might be some reasons that negate this action such as constraint of resources, information costs, opportunity costs, etc. For example, a farmer can produce bushels of rice to feed his family and himself, and sell the excess products, but he might not be able to protect his farmland from the invasion of other states . On the other hand, government has its own almighty army but it cannot produce rice to feed its army. Once these two parties figure out that they can be better off by trading with each other, they can improve their social welfare. That farmer is willing to give away an extra bushel of rice in order to receive additional security up to the point where this outweigh is equal. This is the equilibrium of the free market in Adam Smith’s view where transaction cost is equal to zero.
But in reality, how can an ordinary farmer know when the invasion will happen? It might happen routinely or it might be once in a while. In addition, when there is no central government to protect its own entity and boundary, should he fight for himself and also for other farmers who might enjoy the benefit of his action without any contribution? Or should he overcome the collective bargaining and set up the public agenda and gain a consensus to form a group of farmers to protect their community?
It is clear that in this case gathering all pieces of information has a very high cost and uncertainty of invasion is an unpredictable future, where the price system in the market cannot work properly because of free ridings, undefined property rights, public goods, and so on or in the common word “Positive Transaction Costs.” In this situation, we cannot reach Pareto Optimality of the first theorem of welfare economics. It might be good to have a middleman, who has good managerial skills and some legal authority to mediate these problems in order to satisfy the second welfare theorem.

III Analysis

In order to have consistency to apply the Coasean Theorem of a specialized government of exchange economy and division of labor to accomplish the second welfare theorem in my framework, I assume that democracy is fully established in the society. This condition is a necessary condition and will give parsimony in my analysis. This is because the foundation of democracy is the regime that led Abraham Lincoln to say “Government of the people, by the people, for the people shall not perish from earth.” People will have freedom to use their own discretion to direct resources in the production the way they want. No one has more rights than the other. Everybody can acquire information in the market easily and with low cost. With this condition, the political market can assume to be close to perfect competition market where the first welfare theorem holds. Furthermore I also add some assumptions in a democratic state. First, everybody has equal rights and can express his needs by voting, which is granted by constitutions. With a well-designed constitution, it will state clearly what people’s rights are. No one can deprive these rights from others. Second, a complete contract between voters and politicians will reduce the principal-agent problem. Without a complete contract—such as check and balance system, political election rules, the social sanction to politicians who perform inefficiently—politicians might break the promise to voter citizens, once they win the election.
This is an extreme case describing our world as an ideal place. Everything works fine in this framework. Government exists only as other business firms do. But when I relax some of my assumption that if the cost of getting some information is not costless and this cost is not spread equally among people, what will happen to the ones who have the cheap channel to get information over the one who does not? And what if government once it possesses the power decides to enjoy its own perquisites instead of doing good to the society?
Once we have an elected government, we should consider the second question. What is the scope and size of the government? As professor Coase has mentioned that
“…it might be replied that under perfect competition, since everything that is produced can be sold at the prevailing price, then there is no need for any other product to be produced. But this argument ignores the fact that there may be a point where it is less costly to organize the exchange transactions of a new product than to organize further exchange transactions of the old product…”
In my framework, not only government limits the expansion of its scope of tasks and public policies up to the point where marginal cost of managing transaction exchange equates to marginal benefit, but it is also bounded by law and constitution because constitution will grant the limited authority to government for legal actions. No actions of government will be justified without sanction by laws.

IV Summary

In conclusion, the problems of the high cost of acquiring information and uncertainty can link to transaction costs by using Allen’s definition. This positive transaction cost is the biggest cause of market failure in Coase’s view. He believes that good management to direct resources in the production process like the one in Adam Smith’s classic pin factory can fix market failure. No exception in political arena, along with my assumptions that well-defined constitutions and a complete contract do hold in democratic state, government will arise as a social mediator that will reconcile the conflicts of the people and direct resources to production. The size of the government is limited by economic marginal cost and marginal benefit; furthermore, it is also bounded by constitutions and laws (the latter is more important). The Coase theorem, “The Nature of the Firm,” can explain why government does exist in our society.




References

Alt, James, and Alec K. Chrystal. 1983. Political Economics. Los Angeles. University of California Press.

Coase, Ronald H. 1937. “The Nature of the Firm,”. Economica, 4:386-405.

Dixit, Avinash K. 1996. The Making of Economic Policy: A Transaction-Cost Politics Perspective. Cambridge: The MIT Press.

Douglas, Allen W. 1991. “What Are Transaction Costs?” Research in Law and Economics, 14:1-18.

Downs, Anthony. 1957. An Economic Theory of Democracy. New York: Harper and
Brothers.

Hardin, Russell.1997. “Economic Theories of the State.” Perspectives on Public Choice, Dennis C. Mueller, 21-34. Cambridge: Cambride University Press.

Johnson, David B. 1991. Public Choice: An Introduction to the New Political Economy.
Mountain View: Bristlecone Books.

North, Douglass C. 1990. Institutions, Institutional Change, and Economic Performance.
Cambridge: Cambridge University Press.

Smith, Adam. 1896. The Nature and Causes of The Wealth of Nations. London: George Bell & Sons, York St., Covent Garden, and New York.

Friday, January 19, 2007

iconoclast's tag

สวัสดีครับมิตรรักและเหล่าสหายทั้งหลาย วั้นนี้ผมมีเรื่องเล่าเบาๆคั่นเวลาก่อนที่ผมจะไม่มีเวลามาเขียนบล็อคเป็นอาชีพเหมือนที่เคยทำ (จริงๆเเล้วควรจะพูดว่าไม่ค่อยได้ทำมากกว่า เพราะขี้เกียจจนความยาวหลังผมยาวเกินเมตรไปเเล้วครับท่าน) เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่าเมื่อไม่นานมานี้ผมได้อ่านจดหมายของคุณผู้อ่านท่านหนึ่งซึ่งส่งมาทาง G-mail เพื่อขอเพลงหลังไมต์ ซึ่งจริงๆเเล้วเธอคนนั้นส่งจดหมายอิเล็คโทรนิคมาเป็นชาติเเล้วเเต่ผมไม่มีเวลาว่างซักเท่าไหร่เพราะอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อตอนปลายเทอม งานเยอะฉิบ ผมก็ไม่ว่าอะไรเพราะไม่ได้เป็นคนหวงของเก็บเอาไว้คนเดียวอยู่เเล้วจึงส่งเพลงเเนบกลับไปกับจดหมายขอประทานอภัยที่ได้ตอบช้าเหลือเกิน

ปรากฏว่าเธอคนนั้นกลับทำให้ผมต้องครุ่นคิดอยู่ชั่วครู่ เพราะเธอดัน tag ผมมาละสิ เพราะไม่คาดคิดมาก่อนว่าวันดีคืนดีจะโดน tag กับเค้าด้วย ตอนเเรกก็น่ิงเงียบยังคุยกะ น้อง gelgoog อยู่เลยทำไงดีวะ ถ้าไม่เขียนตอบคำเชิญนี่จะน่าเกลียดไหม ผลสรุปคือทนหน้าด้านไม่เขียนมาได้อาทิตย์กว่าๆ จิตใต้สำนึกด้านดีกระตุ้นว่าควรเขียนสักหน่อยอย่างน้อยผมก็ยังต้องอาศัยอยู่บนโลกของไซเบอร์สเปซไปอีกนาน จะได้ไม่เป็นที่รังเกียจไปมากกกว่านี้ งั้นเรามาเริี่มเรื่องที่หนึ่งเลยดีกว่า

1. ผมเป็นคนที่ไม่ชอบพวกวิชาทางด้านสังคมศาสตร์เอามากๆ ตั้งเเต่เด็ก เพราะมันอ่านเยอะเหลือหลาย อ่านนู้นอ่านนี่อะไรก็ไม่รู้เยอะเเยะไปหมด แล้วอีกอย่างผมเรียนเป็นสายวิทย์มาตลอดด้วย ซึ่งล้อมรอบไปด้วยเลข วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ผมจึงไม่ค่อยชอบเรียนวิชาพวกสังคม ภาษาไทย ซักเท่าไหร่เพราะรู้สึกว่าตัวเองคงเอาดีไม่ได้เเน่ๆ ตอนมัธยมปลายวิชาสังคมกับภาษาไทยนั้นห้องผมจึงละเลยมันอย่างมาก คนสอนๆไปอยู่หน้าชั้นพวกกูจะคุยใครจะทำไม โดนด่าก็เงียบได้ไม่นานก็กลับมาเป็นเหมือนเดิม จนมาสเตอร์ที่สอนเอือมระอากับห้องผมไปเลย อีตอนสอบเข้าเอนทรานซ์ผมดันเอนทรานซ์ติดคณะสายสังคมศาสตร์เเทนที่จะเป็นวิศวะ ด้งนั้นคงไม่เป็นที่เเปลกใจนักที่นักเรียนสาววิทย์เข้ามาเรียนวิชาที่ไม่ค่อยได้ใส่ใจนักตอนมัธยม จะรู้สึกอย่างไรกับการต้องมาเรียนวิชาพื้นฐานของสายสังคมศาสตร์ ในห้องเรียนภาษาไทยผมก็มักจะนั่งกับเพื่อนที่มาจากโรงเรียนเก่าเสมอ จึงไม่เเปลกที่จะติดสันดานเดิมๆที่ชอบคุยในห้องเรียนในขณะที่อาจารย์กำลังสอน เเต่เชื่อไหมครับอาจารย์ให้ความเอ็นดูเป็นพิเศษ เพราะตอนที่ต้องสอบพูดหน้าชั้นอาจารย์เเกมักจะให้เกียรติผมกะเพื่อนผมเป็นคนเเรกๆในการสอบ แล้วพวกผมมันก็เป็นพวกปากกล้าขาสั่นครับ คุยหลังห้องกันโคตรเก่งพอออกไปหน้าชั้นกว่าดอกพิกุลจะร่างจากปากร่างกายผมต้องเสียเกลือเเร่ทางเหงื่อไปเป็นขวดๆ เหมือนชะตากรรมเล่นตลกที่ทำให้ผมตกหล่มอยู่ในสายสังคมศาสตร์ตราบจนทุกวันนี้

2. ก่อนเข้ามหาวิทยาลัยผมเรียนที่ รร วัดฝรั่งตั้งเเต่ ป หนึ่ง ยัน ม ห้า ครับนี่เเหละความลับของผม เฮ้ยไม่ใช่ขอเเก้ตัวก่อนที่จะโดนยำบาทา แต่มันก็เป็นผลสืบเนื่องกันมา การที่เรียนอยู่รร เดียวโดยไม่ได้เปลี่ยนสถานที่เรียนเลยนี่ ทำให้ผมสนิทกับเพื่อนที่ รร เก่าเป็นพิเศษ ถึงเเม้จะไม่ได้เจอกันร่วมสิบปี แต่ก็ยังต่อกันติดเสมอคงเป็นเพราะทำวีรกรรมมาด้วยกัน เอาเป็นว่าเล่าเรื่องตอน ม ห้า ปีสุดท้ายของพวกเด็กนร ขาสั้นก็เเล้วกัน ที่ผมบอกว่าเป็นปีสุดท้ายนั้นเพราะผมเรียนอยู่โครงการ สพพ รุ่นที่สามของ รร ซึ่งคำเต็มมาจากอะไรผมก็จำไม่ค่อยจะได้เเล้ว เอาเป็นว่าพวกผมเรียนกันง่ายๆว่าห้องสองปีจบ ห้องนี้รวมพวกเด็กเรียนพอใช้ได้มารวมกันซึ่งนับเบ็ดเสร็จมีจำนวน นร ทั้งสิ้น เจ็ดสิบเจ็ดคน ซึ่งน่าจะนับเป็นสถิติกินเนีนสบุ๊คได้เลย ณ เวลานั้น เรื่องมีอยู่ว่ามีอยู่วันนึงตอนพักเที่ยงซึ่งมันจะพักราวๆสิบเอ็ดโมงครึ่ง ซึ่งพวกผมก็จะไม่ไปกินข้าวในทันทีทันใดหรอกครับ มันไม่เท่ห์ต้องไปกินตอนประมาณโรงอาหารจะวาย จะใกล้เรียกเข้าเเถวก่อนเข้าเรียนภาคบ่ายนี่มันจะเก๋ากว่า ซึ่งพวกผมก็ทำกันเป็นปกติ เเต่บังเอิญขากลับดันมีไอติมไฮเเกนส์ดาซมาเเจกฟรี แล้วคิดดูนะครับว่าห้องผมมันเดินไปกินข้าวเป็นสามสิบกว่าคนพร้อมๆกัน แล้วเสล่อไปต่อคิวเอาไอติมมากินฟรีอีก แล้วดันจะใกล้เวลาเข้าเเถวตรงสนามบาส กินไงก็ไม่ทัน ประจวบเหมาะว่าห้องเรียนของเราเป็นหนึ่งในสองห้องเรียนที่ติดเครื่องปรับอากาศ พวกผมก็ถอดหน้ากากเเอร์เเล้วเอาไอ้ติมกล่องยัดไปเเทนที่ แล้วก็ไปเข้าเเถวเข้าห้องเรียนตามปกติ เเต่ที่ไม่ปกติคือมาสเตอร์ฝ่ายปกครองดันเดินมาดูผลงานของพวกผมซิครับ พวกเราได้เเต่นิ่งเเล้วมองหน้ากัน เเทนที่จะสำนึกผิดกลับหัวเราะชอบใจกันทั้้งห้องเห็นเป็นเรื่องขำไป ไม่รู้ว่าคราวซวยมาเยือน มาสเตอร์ดันไม่ขำสิครับ เข้ามาด่าเนียนๆยกใหญ่ นึกว่าเรื่องจะจบเเค่โดนด่า วันรุ่งขึ้นดันเป็นวัดตรวจผมประจำเดือน ปรากฏห้องผมซึ่งไว้ผมกันยาวเกินเจ็ดเซนติเมตรเกินตามกำหนด โดนมาสเตอร์เเกกร้อนผมให้เป็นที่อับอายกันถั่วหน้า

3. เรื่องนี้เกิดเมื่อตอนปีสองหรือปีสามนี่เเหละครับผมไม่ค่อยมั่นใจเท่าไหร่นักว่าเป็นปีไหนกันเเน่ เรื่องก็มีอยู่ว่าอยู่ดีๆดันเกิดเบื่อชีวิตกรุงเทพขึ้นมาแล้วอยากหาเรื่องไปเที่ยวต่างจังหวัด พอดีเค้ามีเปิดรับสมัครให้ไปออกค่ายที่จังหวัดยโสธรเป็นเวลาสิบวัน มันก็เข้าทางผมสิครับเเบบนี้ เลยชวนสมัครพักพวกให้ไปค่ายนี้กัน นอกจากได้ไปเที่ยวต่างจังหวัดเเล้วยังไปสร้างโรงเรียนให้เเก่เด็กเล็กๆยามพ่อเเม่ออกไปทำงานกัน โรงเรียนเเห่งนี้เป็นโรงเรียนขนาดเล็กๆไม่ใหญ่มาก เเต่เรื่องของเรื่องมันอยู่ที่ว่าต้องนั่งรถไฟไปกลับซึ่งมันขัดกับความรักสะดวกสบาย และนิสัยไม่ชอบการเดินทางนานๆ (เเต่ถ้าเดินทางโดยรถยนต์ที่ผมเป็นคนขับนี่ไม่มีปัญหานะครับ) ผมจึงปรึกษากะพ่อเเม่ว่าผมจะไปออกค่ายเเต่ไม่อยากนั่งรถไฟ เเกก็ไม่ว่าอะไรกันก็บอกว่าเค้าไม่มีปัญหาในเรื่องที่ผมจะไปออกค่าย เเละถ้าเกิดไม่อยากนั่งรถไฟไปก็ให้นั่งเครื่องไปละกัน อ่านมาถึงตรงนี้อาจคิดว่าผมทำตัววิเศษวิโสมาจากไหน อวดร่ำอวจรวยอย่างไรนั่งเครื่องไปออกค่าย จริงๆเเล้วไม่ได้ร่ำรวยหรอกครับท่านบังเอิญที่ว่าพ่อของผมทำงานสายการบินแล้วพ่อผมมีสิทธิ์ซื้อตั๋วราคาถูกถึงถูกมากในราคาสิบเปอร์เซนต์เท่านั้น ผมซึ่งอายุยังไม่เกนยี่สิบเอ็ดจึงยังได้รับสิทธิอันนี้อยู่ ซึ่งเบ็ดเสร็จเเล้วราคาถูกกว่าราคาตั๋วรถไฟจากกรุงเทพไปน่าน (ไม่มีรถไฟไปยโสธรนะครับต้องไปน่านก่อนเเล้วต่อรถเข้าไปตามความเข้าใจของผม) ผมจึงลองถามพวกกรรมการค่ายซึ่งก็เป็นเพื่อนๆกันนี่เเหละว่าสามารถทำได้รึเปล่า ปรากฏกลายเป็นเรื่อง talk of the ค่าย ซึ่งมารู้ภายหลังว่าพวกเพื่อนผมมันเป็นกังวลว่าผมคงจะทนลำบากไม่ไหว จัดให้ผมไปนอนบ้านครูบิ้งซึ่งเค้าเล่ากันว่าเป็นบ้านที่สะดวกที่สุด ซึ่งจริงๆผมไม่ได้สนใจว่าจะทำหรูนะครับเเต่มันสนนราคาถูกกว่าก็เท่านั้นเอง นับเป็นการออกค่ายอาสาพัฒนาครั้งเเรกในชีวิต นศ เป็นประสบการที่ดีครับมีเรื่องเล่าอีกมากมาย ติดเอาไว้เล่าคราวหน้าก็เเล้วกัน

4. ใครเล่าจะเชื่อบ้างว่าผมจะเป็นเด็กเเนวที่สามารถใช้ชีวิตในร้้วมหาวิทยาลัยเเค่สามปีครึ่ง อันนี้ไม่ได้มาจากความตั้งใจอย่างเเน่วเเน่นะครับ บังเอิญมันจบของมันเองเเล้วขี้เกียจเรียนเเล้วด้วยเลยตัดสินใจไม่เรียนมันเเล้ว เลยนับว่าเป็นคนเเรกๆของรุ่นที่ต้องก้าวออกจากการเป็นนศเร็วกว่าคนอื่นๆ แล้วก็ยังได้เข้าทำงานเป็นคนเเรกๆของคณะด้วยครับ ไม่รู้ดีใจหรือเสียใจดี

5. ที่คณะของผมเข้าจะมีจัดการเเข่งขันฟุตบอลภายในคณะทุกๆปี ซึ่งก็เป็นการเเข่งระหว่างกลุ่มนี่เเหละครับใครอยู่กลุ่มไหนก็สังกัดทีมนั้นไอ้เรื่องการจะย้ายทีมนั้นยากครับเเต่ก็ยังสามารถทำได้อยู่ เนื่องจากทางฟีฟ่าไม่เคยกำหนดไว้ห้ามเล่นให้กับทุมนอกกลุ่ม ผมนั้นก็เล่นให้กับกลุ่มมาสามปีติด เเต่ในปีสุดท้ายดันเกดความคิดกบฏกับเพื่อนกลุ่มเล็กๆขึ้นมา ว่าเราจะตั้งทีมปีสี่เเยกออกมาเเช่งกับทีมกลุ่มที่มีอยู่เเล้ว ผมมักจะเรียนกทีมนี้ว่าทีมกระหรี่เพราะมันไปดึงใครมาก็ได้ให้ครบสิบเอ็ดคน ยังจำได้ว่านัดเเรกเล่นกับกลุ่มต้นสังกัดของผมเองซึ่งมีดีกรีเป็นเชมป์เก่าหลายสมัยอยู่ ไอ้คนที่เป็นตัวตั้งตัวตีจัดทีมดันกลับไปชุดที่บ้านแล้วเสือกมาไม่ทั้นเเข่งครึ่งเเรก ทีมกระหรี่ของผมจึงต้องเเข่งกับทีมเเชมป์เก่าด้วยกำลังนักเตะเเค่เจ็ดคน รวมผู้้รักษาประตูเข้าไปเเล้วนะครับ กระหรี่เลยโดนยำอยู่เกือบยี่สบินาทีได้กว่าจะมีผู้เล่นครบสิบเอ็ดคนตามกฏของฟีฟ่า ผมจำไม่ได้เเน่ว่าสกอร์สุดท้ายทีมกระหรี่อย่างผมชนะหรือเสมอ เเต่ที่เเน่ๆไม่เเพ้ครับ ทีมผมก็มีผู้เล่นเปลี่ยนหน้าไปเรื่อยครับเพราะเเค่จัดทัพให้ครบสิบเอ็ดคนก็ยากเเล้วครับ ต้องโดดเรียนโดดงานมา(อันหลังนี่เฉพาะผมคนเดียว) เเต่ก็ได้เข้ารอบชิงครับท่าน เพื่อนผมก็นัดกันอย่างดีว่ามึงต้องมาเเข่งนัดสุดท้ายด้วยนะ โดดงานมาเลยชิ่งหนีเจ้านายมาเล่นบอลกัน ไอ้เรื่องโดดงานนะไ่ม่่เท่าไหร่เเต่ตัวผมดันไปมีเเฟนเเล้วเค้าไม่ให้มาเเข่งนี้ละซิครับ เร่ืองใหญ่กว่า สรุปผมก็ไม่ได้ไปเเข่งเเล้วบังเอิญจริงๆว่าทีมกระหรี่ของผมดันชนะครับ เค้าก็ไม่มีไรมากหรอกครับก็เเจกเหรียญตามประเพณี พอตกเย็นผมก็รีบมาบอกพวกมัน เฮ้ยไหนเหรียญกูวะ ไอ้เพื่อนคนที่ไปเอาชุดตอนนัดเเรกมันตอบกลับกูไม่ให้มึงหมั่นไส้นัดให้มาเสือกไม่มา สรุปปีนั้นถึงจะได้ชื่อว่าเป็นทีมเเชมป์เเต่ผมกลับบ้านโดยไร้เหรียญประดับใดๆทั้งสิ้น อยากเตะตูดมันให้ดังๆ

ก็ได้เปิดเผยเเล้วนะครับเรื่องน่ารู้ของเจ้าของบล็อค กว่าจะเขียนตามคำเชิญของน้อง epsie ต้องใช้เวลาหน่อยนะครับ

Sunday, January 14, 2007

32 F or 0 C

อยู่อาศัยเเถบเเคลิฟอร์เนียตอนใต้มานมนาน ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายปีอยู่ เเต่เมื่อคืนกลับมาจากดูหนัง The Pursuit of Happyness กับเพื่อน(ไม่ได้สะกดด้วยตัว I นะครับ) ออกมาจากโรงหนังใส่สเว็ทเตอร์เเค่ตัวเดียวเเต่ทำไมเวลาพูดเสียงมันสั่นได้เร้าใจดังกับลูกคอชายเมืองสิงห์ เเถมร่างกายอันบวมไปด้วยไขมันยังดิ้นได้ยังกับได้เสพย์เพลงเต้นรำยังไงยังงั้น ก็รีบเดินจ้ำกลับไปที่จอดรถเเล้วบึ่งกลับบ้านทันใด ก่อนเลี้ยวเข้าบ้านมันจะมีที่วัดอุณหภูมิตตั้งอยู่ตรงหน้าธนาคาร ด้วยความสงสัยเหลือบไปมอง อุเเม่เจ้าอากาศตอนเที่ยงคืนลดลงเหลือ 29 ฟาเรนห์ไฮต์หรือถ้าพูดเป็นภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่าย ก็อากาศต่ำกว่าจุดเยือกเเข็ง นี่ไม่ต้องเดาให้เสียเเรงเปล่าเลยว่าดึกๆกว่านี้ ตีสองตีสามอากาศมันจะลดลงไปอีกเเค่ไหน พักนี้เลยเห็นหิมะบนยอดเขาหลังบ้านเป็นเนืองนิจ สงสัยต้องขุดคุ้ยเสื้อกันหนาวออกมาใส่โชว์กันสักหน่อยเเล้ว